รูปแบบการสอน Think Pair Share

รูปแบบการสอน เทคนิคคู่คิด (Think Pair Share)
ความหมาย
เทคนิคคู่คิด (Think Pair Share) เป็นเทคนิคที่ผู้สอน ใช้คู่กับวิธีการสอนแบบอื่นเรียนว่าเทคนิคคู่คิด เป็นเทคนิคที่ผู้สอนตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหาให้แก่ผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นใบงาน  กิจกรรม หรือแบบฝึกหัด และให้ผู้เรียนแต่ละคนคิดหาคำตอบของตนเองก่อน แล้วจับคู่กับเพื่อนอภิปรายคำตอบร่วมกัน เมื่อมั่นใจว่าคำตอบของคนถูกต้องแล้วจึงนำคำตอบไปอธิบายให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง
องค์ประกอบ
รูปแบบการสอน เทคนิคคู่คิด (Think Pair Share) มีดังนี้
1.ขั้นคิด (Think) คือ การที่ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดโดยการ ตั้งคำถาม  กำหนดหัวข้อให้คิด หรือ ให้สังเกต ผู้เรียนใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับคำถามหรือหัวข้อนั้น ๆ ประมาณไม่เกิน 2-3 นาที   
2.ขั้นจับคู่ Pair ) คือ ให้ผู้เรียนจับคู่กัน (ใช้ Clock Buddies หรือวิธีอื่นก็ได้) เมื่อผู้เรียนจับคู่กันแล้วให้คุยกันเกี่ยวกับคำตอบที่แต่ละคนคิดได้ และให้เปรียบเทียบคำตอบของแต่ละคนที่ได้คิดหรือเขียนมาแล้ว ให้วิเคราะห์คำตอบเหล่านั้นว่าคำตอบใดเป็นคำตอบที่ผู้เรียนคิดว่าดีที่สุด  เข้าใจได้ง่ายที่สุดหรือโดดเด่นที่สุด
3.ขั้นแบ่งปัน (Share ) คือ ขั้นตอนหลังจากให้ผู้เรียนจับคู่คุยกันแล้ว (ไม่ควรให้เวลานาน) ผู้สอนเรียกผู้เรียนแต่ละคู่ให้แบ่งปันความคิดของผู้เรียนกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน โดยการให้ผู้เรียนหมุนเวียนแต่ละคู่ไปรอบๆ หรือเรียกผู้เรียนแต่ละคู่ออกมา หรืออาจจะถามผู้เรียนแต่ละคู่โดยตรง แล้วผู้สอนหรือผู้ช่วยเขียนคำตอบของคู่ที่ถูกถามลงกระดาน
เหตุผลที่ใช้วิธีแบ่งปันความคิ
ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนสามารถพูดถึงเรื่องที่กำลังเรียนอยู่ได้อย่างเข้าใจ แต่ผู้สอนไม่ต้องการให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสรเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด วิธีแบ่งปันความคิดจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้วัตถุประสงค์นี้บรรลุได้ เพราะ วิธีแบ่งปันความคิดจะปิดข้อจำกัดนั้น ผู้เรียนจะต้องทำตามขบวนการที่จะจำกัดการคิดและพฤติกรรมที่นอกเหนือจากสิ่งที่สั่ง โดยผู้เรียนต้องแบ่งปันความคิดกับคู่หูก่อน แล้วยังต้องแบ่งปันกับเพื่อนร่วมห้องอีกรอบและด้วยเหตุผลของกระบวนการแรก (คิด) เมื่อผู้เรียนได้คำถาม ผู้เรียนแต่ละคนจะต้องคิดอย่างเงียบๆ ซึ่งข้อนี้จะทำให้ ผู้เรียนแต่ละคนได้คิดจริงๆ เป็นช่วงเวลาที่ผู้เรียนจะเงียบและคิด ผู้สอนสามารถตัดปัญหาผู้เรียนที่ชอบตะโกนตอบเมื่อผู้สอนถามเสร็จ และจะทำให้ผู้เรียนคนอื่นไม่ได้คิดก็จะไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้สอนได้ตั้งคำถามขึ้นมาและให้ผู้เรียนทุกคนคิดคำตอบ ซึ่งจะแตกต่างจากที่ผู้สอนได้ตั้งคำถามขึ้นมาแล้วเรียกให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบ โอกาสที่ผู้เรียนทุกคนจะได้ตอบมีน้อยกว่า และเป็นไปได้ว่าอาจมีบางคนไม่ได้ตอบเลย ผลก็คือผู้เรียนผู้นี้อาจไม่ได้คิดเลย ผู้เรียนที่ไม่ค่อยจะตอบคำถามก็จะไม่คิดตาม แต่ในวิธีนี้ ผู้เรียนจะต้องคิดเพราะจะต้องไปแบ่งปันคำตอบหรือความคิดกับคู่หู ในขณะที่ผู้เรียนคิดกันเป็นคู่ ๆ ผู้เรียนแต่ละคู่จะต้องบอกความคิดของผู้เรียนออกไปให้คู่หูทราบ ผู้เรียนที่ไม่เคยพูดเลยในห้องเรียนก็จะมีโอกาสได้พูด เหตุผลที่ผู้เรียนไม่พูดอาจเป็นเพราะเขาคิดว่าคำตอบของเขาผิดหรือไม่ดี ซึ่งเมื่อผู้เรียนได้พูดออกไปแล้วก็จะทราบว่าผู้เรียนคิดไปเองทั้งตอนที่พูดหน้าชั้นและตอนที่พูดกับคู่หู และเมื่อผู้เรียนต้องบอกคำตอบหน้าห้อง ผู้เรียนก็ ต้องอธิบายอย่างประณีตอย่างเป็นระเบียบ สิ่งนี้ก็จะช่วยในการฝึกฝนการพูดให้ผู้อื่นฟังด้ว
ประโยชน์ของรูปแบบการสอน เทคนิคคู่คิด (Think Pair Share)
1. ช่วยให้นักเรียนคิดเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับประเด็นที่ถามหรือคำตอบ
2. ช่วยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมห้องและฝึกทักษะสื่อสารการพูด
3. ช่วยเน้นความสนใจและการมีส่วนร่วมให้เข้าใจในเรื่องที่เรียน
4. สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้เดิม หรือความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน
5. สามารถนำไปใช้กับนักเรียนเป็นรายบุคคล ใช้กับนักเรียนกลุ่มย่อยหรือใช้กับนักเรียนทั้งห้องเรียนก็ได้
6. สามารถนำไปใช้สอนกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้


เรียบเรียงข้อมูลโดย
นักศึกษาปริญญาโท
สาขาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิธีการสร้างสุขให้เด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆที่เด็กได้รับ ประสบการณ์เหล่านี้จ...