6/3/61

วิธีการสร้างสุขให้เด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆที่เด็กได้รับ ประสบการณ์เหล่านี้จะฝังอยู่ใน โครงสร้างพื้นฐานของสมองของเด็กซึ่งมีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสุขของเด็กปฐมวัยเชื่อมโยงกับพัฒนาการด้านต่างๆโดยเฉพาะพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กซึ่งมีผลต่อความสามารถในการปรับตัวเมื่อเด็กเข้าเรียน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และเป็นสมาชิกที่ก่อประโยขน์ให้กับชุมชนของตน

การสร้างความสุขให้กับเด็กปฐมวัยนั้น นอกจากการให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและ อบรมสั่งสอน ให้การดูแลที่เหมาะสมแล้วพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูยังสามารถทำได้ ดังนี้
😀ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์
😀สัมผัส กอดและพูดคุยกับเด็กด้วยความรักและความเอาใจใส่
😀จัดประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ในด้านต่างๆตามช่วงวัย โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การอ่านหนังสือ เล่านิทานกับเด็ก ทำกิจกรรมศิลปะ เล่นดนตรี เล่นกลางแจ้งหรือเล่นกีฬาเพื่อให้เด็กได้ออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น
😀ลดหรือไม่สร้างความเครียดให้กับเด็ก เช่น การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด บังคับให้ทำในสิ่งที่เด็กไม่ชอบดุว่า ลงโทษอย่างรุนแรง ทำให้เด็กรู้สึกกลัว วิตกกังวล และไม่มีความสุข

อ้างอิงข้อมูล 
พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช
นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันราชานุกูล

สืบค้นและเรียบเรียงข้อมูลโดย
นักศึกษาปริญญาโท 
สาขาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

5/3/61

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับใหม่กับเก่าต่างกันอย่างไร


ข้อแตกต่างระหว่างหลักสูตรเก่า พ.ศ. 2546
และหลักสูตรใหม่ 2560
      สำหรับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับใหม่นั้น มีจุดเพิ่มเติมมา คือ  วิสัยทัศน์ ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพิ่มเติมตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์รายอายุ " เพื่อให้มีเนื้อหาที่ชัดเจน สถานศึกษาสามารถนำไปออกแบบ และจัดหลักสูตรสถานศึกษาของตนเอง ครูสามารถนำไปวางแผนการพัฒนาผู้เรียนรายอายุได้ง่ายขึ้น " ซึ่งจากเดิม การประสานงานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในส่วนของการพัฒนาทักษะกระบวนการ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ระหว่างหน่วยงาน สพฐ. กับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) นั้น ต่างคนต่างทำ แต่ในหลักสูตรใหม่จะทำงานร่วมกัน โดยคณะทำงานของ สสวท.เป็นผู้พัฒนาเนื้อหาที่ง่ายสำหรับเด็ก และชัดเจนสำหรับครูนำสู่การปฏิบัติ และในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 มีจุดเด่นเพิ่มเติมที่ต่างจากของเดิมคือ การพัฒนาด้านร่างกาย เพิ่มการพัฒนาการตระหนักรู้ เกี่ยวกับร่างกายตนเอง (self-awareness) คือการเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทางระดับและพื้นที่, ด้านอารมณ์จิตใจ เพิ่มอัตลักษณ์เฉพาะตน และเชื่อว่าตนเองมีความสามารถและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น, ด้านสังคม เพิ่มการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นไทย การมีวินัย การยอมรับในความเหมือนและแตกต่าง ระหว่างบุคคล และ ด้านสติปัญญา เพิ่มการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การคิดแก้ปัญหา และตัดสินใจการใช้ภาษาในการเรียนรู้

4/3/61

7 คำถาม ที่ควรถาม.. หลังจากลูกกลับจากโรงเรียน

7 คำถามที่ควรถามลูก...
หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน 
โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
       คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงอยากรู้ว่า แต่ละวันที่ลูกไปโรงเรียนนั้นลูกทำอะไรบ้าง หลายครั้งที่เราถามลูกว่าทำอะไรบ้างลูกอาจจะไม่อยากตอบ หรือไม่สนใจในคำถามของเรา ลองใช้คำพูดที่ดีที่เราควรถามลูกหลังจากกลับจากโรงเรียนเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้รับคำตอบที่น่าพอใจเลยทีเดียว
       1. อะไรดีที่สุดในวันนี้ คำถามนี้เป็นคำถามที่เราจะได้คำตอบที่มากมาย เด็กๆ ชอบที่จะตอบคำถามนี้ การแบ่งปันเรื่องที่ตื่นเต้นและมีความสุขตลอดทั้งวัน เราจะได้ฟังเรื่องในชั้นเรียน เรื่องที่ลูกทำข้อสอบและได้คะแนนดี หรือวิชาต่างๆ ที่ลูกชอบ คำถามนี้เป็นคำถามที่ลูกจะมีความสุขและตาเป็นประกายเวลาตอบเลยที่เดียว
       2. อะไรที่ลูกไม่ชอบเลยวันนี้ คำถามนี้เป็นคำถามทางลบ แต่เป็นคำถามที่เราจะได้คำตอบที่ช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นที่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่ลูกไม่ชอบ กลุ่มเพื่อนของลูก หรือแม้กระทั่งการถูกเพื่อนรังแก เราจะได้รับทราบความเป็นไปของลูก ไม่จำเป็นต้องถามคำถามนี้กับลูกบ่อยๆ ทุกวัน แต่ให้เราถามบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อที่จะช่วยแก้ไขได้ในกรณีที่เกิดปัญหาร้ายแรง
       3. ลูกนั่งทานข้าวกับใครวันนี้ คำถามนี้จะช่วยให้เราทราบว่าลูกมีพฤติกรรมการเข้าสังคมเป็นอย่างไร เข้ากับเพื่อนกลุ่มไหน หรือเปลี่ยนกลุ่มใหม่อย่างไรบ้าง
       4. กิจกรรมที่โรงเรียนง่ายหรือยาก นี่เป็นอีกคำถามหนึ่งที่เราควรจะถามลูก เพื่อที่เราจะทราบความเป็นไปของการเรียน และวิชาต่างๆ อีกทั้งจะได้ทราบว่าลูกมีปัญหาอย่างไรเพื่อที่จะช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันเวลา  เราควรถามคำถามนี้บ่อยๆ เพื่อเราจะทราบว่าลูกอ่อนวิชาไหน เพื่อหาวิธีการช่วยลูกในลำดับต่อไป
       5. คุณครูเป็นอย่างไรบ้างวันนี้ เราคงอยากรู้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณครูกับตัวลูก ดังนั้นคำถามนี้จึงเป็นคำถามที่ดี ดูสีหน้าลูก เมื่อพูดถึงคุณครูว่าคุณครูใจดี หรือมีงานโครงการอะไรบ้างที่ต้องส่งให้ทันกำหนด  หรือลูกทำหน้าเศร้าและไม่อยากพูดถึงให้จดบันทึกพฤติกรรมไว้
       6. ลูกเล่นกับใครวันนี้ คำถามนี้เป็นอีกคำถามที่จะทำให้เราทราบความเป็นมาทางสังคมของลูก เพื่อจะรู้ว่าลูกอยู่กับเพื่อนกลุ่มเดิม หรือเข้ากลุ่มใหม่ และคุณพ่อคุณแม่จะทราบด้วยว่าลูกถูกงดเล่นสนาม หรือถูกลงวินัยอย่างไรหรือไม่ หรือลูกไม่ชอบเล่นสนาม เพราะไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่นๆ ดังนั้นเมื่อเราถามคำถามนี้เราจะทราบความเป็นไปของลูก รวมทั้งพฤติกรรมทางสังคมอีกด้วย
       7. โรงเรียนมีงานอะไรที่กำลังจะมาถึงหรือไม่ ลูกอาจจะไม่มีการวางแผน ดังนั้นการถามคำถามนี้จะทำให้เราทราบว่าปฏิทินโรงเรียนเป็นอย่างไร ช่วยทำให้ลูกทันเหตุการณ์และทำให้ลูกนึกจำขึ้นมาได้ว่าจะต้องมีโครงงานหรืองานอะไรบ้างที่ต้องทำให้เสร็จ
       การตั้งคำถามและพูดคุยกับลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องถามคำถามเหล่านี้รวดเดียวในเวลาเดียวกัน แต่ค่อยๆ ถามแต่ละคำถามหรือแบ่งถามในแต่ละวัน เราจะทราบความเป็นไปของลูก ว่าลูกมีความสุขหรือทุกข์อย่างไรที่โรงเรียน ลองถามลูกๆของคุณดูนะคะ
      
อ้างอิง: www.allwomentalks.com



เด็กปฐมวัย กับ โรคสมาธิสั้น

สมาธิสั้น 
Attention Deficit Hyperactivity Disorder
หากท่านมีลูกคนหนึ่งซนมาก อยู่ไม่เป็นที่ เบื่อง่าย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสนใจถูกหักเหโดยแสง สีเสียงเพียงเล็กน้อย อาการต่างๆที่กล่าวเป็นอาการของเด็กสมาธิสั้นหรือที่เรียกว่า Attention Deficit Hyperactive Disorder เด็กจะไม่สามารถนั่งวางแผนหรือทำงานให้สำเร็จลุล่วง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถทำงานที่ใช้ทักษะ โรคนี้พบมากในเด็กประมาณร้อยละ 3-5 พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า อาการนี้สามารถดำเนินจนถึงวัยรุ่นทำให้เกิดความเครียด
อาการของเด็กสมาธิสั้น
การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนกระดูกหัก หรือปอดบวม เพราะโรคพวกนี้สามารถเห็นด้วยตาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นจะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
   1)การขาดสมาธิ Inattentionโดยสังเกตพบว่า
🤖เด็กจะสนใจงานหรือของเล่นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหลังจากนั้นก็จะเบื่อ
🤖ไม่มีความพยายามที่จะทำงานที่ต้องใช้ทักษะ
🤖มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
🤖ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
🤖ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเวลาเล่น
🤖ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดไม่ได้ ขี้ลืมบ่อย วอกแวกง่าย
   2)Hyperactivity เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้
🤖เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
🤖เล่นไปรอบห้อง
🤖พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด
🤖เมื่อนั่งอยู่ที่เก้าอี้ก็ไม่สามารถนั่งนิ่งโยกไปโยกมา
🤖แตะสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา
🤖เคาะโต๊ะส่งเสียงดัง
🤖รอคอยไม่เป็น
🤖ชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน
🤖บางคนอาจจะทำหลายๆอย่างพร้อมกัน
   3)Impulsivity เด็กจะหุนหัน เด็กจะทำหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิดเด็กอาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ เด็กจะไม่สามารถรอยคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กอาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจเด็กอาจจะทำลายของเล่นนั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก panyathai.or.th






วิธีการสร้างสุขให้เด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆที่เด็กได้รับ ประสบการณ์เหล่านี้จ...